วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บางพัฒนาของการเด็ก ที่(หลายคน)ควรรู้ ( ตอนที่ 3 )




การทำความสะอาดผ้าอ้อม
เพื่อป้องกันความสกปรกและกลิ่นอับเมื่อถอดออกจากตัวทารกปฏิบัติดังนี้
1. ผ้าอ้อมเปื้อนอุจจาระ ควรใช้น้ำธรรมดาลาดผ้าอ้อม เพื่อให้เศษอุจจาระหลุดออก แล้วแช่ไว้ในน้ำธรรมดา
ผสมยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปซัก
2. ผ้าอ้อมเปื้อนปัสสาวะ ควรขยำในน้ำธรรมดา 1 ครั้ง แล้วแช่ไว้ในน้ำธรรมดาที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำไปซัก
จะทำให้ผ้าอ้อมมีกลิ่นสะอาด มั่นใจในความสะอาดหลังซัก

การสังเกตอุจจาระ ปัสสาว
- ใน 2 - 3 วันแรกหลังคลอด อุจจาระจะเป็นสีเทาดำตามปกติ (เรียกว่า ขี้เทา)
- ทารกที่ได้รับนมมารดา อุจจาระจะเหลวและมักจะถ่ายเสมอหลังให้นม
- ทารกที่ได้รับนมผสม อุจจาระจะแข็งและมีกากมากว่าทารกที่ได้รับนมแม่
- ถ้าทารกถ่ายอุจจาระเหลว 6 - 10 ครั้งต่อ 1 วัน ถือว่าผิดปกติ
- ทารกปกติควรปัสสาวะ 6 - 10 ครั้งต่อ 1 วัน ถ้าต่ำกว่าควรให้น้ำมาก ๆ
การนอน
2 - 3 วันหลังคลอด ทารกจะหลับนานและตื่นเฉพาะเวลากินนม (ทารกปกติจะหลับ 12 - 16 ชั่วโมงต่อ 1 วัน)
หลังจาก 3 วัน ทารกจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น
การร้อง
การร้องของทารกแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ส่วนมากจะร้องเมื่อมีความต้องการ เช่น ต้องการนม ต้องการ ความอบอุ่น

การมาตรวจหลังคลอด
มารดา 4 สัปดาห์หลังคลอดจะมาตรวจเพื่อว่าร่างกายกลับคืนสภาพเดิมก่อนมีครรภ์ ตรวจมะเร็งและแนะนำ
เรื่องการคุมกำเนิดทารก 8 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อดูความเจริญเติบโตและความผิดปกติพร่องทั้งให้ภูมิคุ้มกันโรค

ภาวะปกติในทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกอายุ 4 สัปดาห์หลังคลอด เป็นวัยที่มีภาวะ หรือสิ่งปรกติที่ ไม่พบในวัยอื่น ภาวะหรือสิ่งปรกตินี้ อาจทำให้พ่อแม่ วิตกกังวลได้บ่อยครั้ง ที่พ่อแม่ พาทารก ไปพบบุคลากร ทางการแพทย์ ซึ่งก็ไม่ทราบว่า เป็นภาวะปรกติ และได้รับคำแนะนำ หรือการ รักษาที่ไม่จำเป็น หรือรับตัวไว้ รักษาในโรงพยาบาล หรือหาหยูกยามารักษาเอง ซึ่งอาจก่อ อันตราย แก่ทารกได้ ภาวะปรกติเหล่านี้ ไม่ต้อง ให้การรักษาใด ๆ ภาวะปรกติ ที่พบได้ใน ทารกแรกเกิดได้แก่สิ่งต่อไปนี้
การสะดุ้งหรือผวา (Moro reflex)
การสะดุ้ง หรือการผวา เวลามีเสียงดัง หรือเวลาสัมผัสทารก เป็นสิ่งที่ทารกทุกคนต้องมี เพราะแสดง ถึงระบบประสาทที่ปรกติ และเป็นการทดสอบ อย่างหยาบ ๆ ว่าทารกได้ยินเสียง ทารกตอบสนองโดย การยกแขน และยกขา แบมือ และกางแขนออก แล้วโอบแขนเข้าหากัน การตอบสนอง แบบนี้พบเมื่อทารก หลับสนิท (quiet sleep) การผวา พบได้จนถึง อายุ 6 เดือน
การกระตุก (Twitching)
หากทารกหลับ ในระดับที่ลูกตามีการกรอก (rapid eye movement) ทารกมีกระตุก เล็กน้อย ที่แขน หรือที่ขา เวลาตื่นไม่มีกระตุก ผู้ใหญ่บางครั้งก็มี การกระตุก ก่อนรู้สึกตัวตื่น เช่นเดียวกัน พ่อแม่มักพา ทารกมาปรึกษา โดยบอกว่าลูกชัก หากบุคลากรทางการแพทย์ ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ทารกมักถูกรับ ไว้ในโรงพยาบาล
การบิดตัว
ทารกครบกำหนด มีการเคลื่อนไหว เวลาตื่นนอนคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ ทารกยกแขนเหนือ ศีรษะ งอ ข้อตะโพก และข้อเข่า และบิดลำตัว ลักษณะเคลื่อนไหวแบบนี้ พบในทารกที่ปรกติ และอาจพบมาก ในทารกบางคน อาจบิดตัวจนหน้าแดง

การสะอึก
การสะอึก อาจพบภายหลังดูดนม เนื่องจากการทำงาน ของกะบังลมยังไม่ปรกติ หรือส่วน ยอดของ กระเพาะอาหาร ที่ขยายตัวจากน้ำนม และลมที่กลืนลงกระเพาะ สัมผัสกะบังลม หากทำการไล่ลม โดยจับทารก นั่งหรืออุ้มพาดบ่าสัก 5-10 นาที ภายหลัง ทารกดูดนมจนอิ่ม แล้ว ยังมีอาการสะอึกอีก ถือว่าเกิดจากกะบังลม ทำงานไม่ปรกติ ซึ่งไม่ต้องการรักษาใด ๆ
พบได้หลังการดูดนม เพราะการทำงานของกะบังลมไม่ปกติ เนื่องจากส่วนยอดของกระเพาะอาหารที่ขยายตัวจากการกลืนลมและนมลงไปในกระเพาะ ยืดขึ้นไปสัมผัสกะบังลมกระตุ้นให้กะบังลมกระตุก เกิดการสะอึก ช่วยลูกได้ ถ้ามีการสะอึกก็ให้ลูกดูดนมหรือน้ำ อาการดังกล่าวจะหายไป เมื่อทารกอายุมากขึ้นก็มักจะไม่สะอึกแล้วค่ะ
การแหวะนม
หูรูด กระเพาะอาหาร ของทารกแรกเกิด ยังทำงานได้ไม่ดี ทำให้รูดปิดไม่สนิท มีผลให้ ทารก แหวะนม เล็กๆ น้อย ๆ หลังมื้อนม และอาจออกมาทางจมูก และปาก น้ำนมที่ออกมา อาจมีลักษณะ เป็นลิ่ม คล้ายเต้าหู้ เนื่องจากถูกกับน้ำย่อย ในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นขั้นตอน ของการย่อย พ่อแม่เข้าใจผิดว่า น้ำนมไม่ย่อย และนมที่ให้ลูกไม่ดี การแก้ไขการแหวะนม คือการไล่ลม ร่วมกับการจัดให้ ทารกนอน ศีรษะสูง และตะแคงขวา หลังดูดนม ประมาณ ครึ่งชั่วโมง ท่านอนดังกล่าว หูรูดของ กระเพาะอาหาร จะอยู่สูง ทำให้น้ำนมไหลย้อนแรงดึงดูด โลก ไม่ได้
ทารกบางคน ได้รับการป้อนนม โดยปล่อยให้นอนราบ แล้วใช้ผ้า หนุนขวดนม โดยเกิดจาก ความเชื่อว่า หากอุ้มทารก และถือขวดนมให้ จะทำให้ทารก ติดมือ หรืออาจเพราะ ผู้ดูแล ไม่มีเวลา การปฏิบัติเช่นนั้น ทำให้น้ำนม ไม่ท่วมจุกนม เวลาทารก ดูดนม จะกลืนน้ำนม และลม เมื่ออิ่มแล้ว ทารกจะเรอ และแหวะ น้ำนมออกมาด้วย หากการแหวะนม เกิดขณะที่ ทารกนอนราบ ทารกอาจสูดสำลักนม เข้าปอดได้ การป้อนนม ที่ถูกต้องจะต้องอุ้มทารก ให้อยู่ในท่าครึ่งนั่ง ครึ่งนอนเสมอ และถือขวดนม ให้น้ำนมท่วมจุก นมตลอดเวลา ภายหลัง ดูดนมหมดแล้ว ต้องจับทารกนั่ง หรืออุ้มพาดบ่า เพื่อไล่ลม
ต้องแยกจากการอาเจียนเพราะการแหวะนม ลูกจะแหวะมาเล็กน้อยหลังมื้อนม อาจมีลักษณะเละๆ คล้ายเต้าหู้เพราะนมถูกกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร แต่ถ้าเป็นการอาเจียนจะอาเจียนนมจำนวนมากและมักพุ่งแรง การแหวะนมเกิดขึ้นเพราะหูรูดของกระเพาะอาหารของเด็กทารกแรกเกิดยังปิดไม่สนิท ช่วยลูกได้ เราควรอุ้มลูกดูดนมในท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน ถ้าเป็นนมขวดต้องให้น้ำนมท่วมขวดนมตลอดเวลา เมื่อดูดนมแล้วต้องไล่ลมทุกครั้ง อาจให้ลูกนอนหัวสูงและตะแคงขวาหลังดูดนมประมาณครึ่งชั่วโมง เพราะท่านี้จะทำให้หูรูดกระเพาะอาหารอยู่สูง จะแหวะยากขึ้น
ทารกไม่ดูดน้ำ
น้ำนมมารดา มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 88% นมผงก่อนที่จะป้อนทารก ก็ต้องผสมน้ำ ในอัตราส่วน ที่พอเหมาะ เพื่อให้มีส่วนประกอบ ใกล้เคียงกับนมมารดา ทารกจึงได้น้ำ อย่างเพียงพอ จากน้ำนม และไม่ จำเป็นต้องดูดน้ำเปล่าเพิ่มเติม เพื่อแก้หิวน้ำ โดยเฉพาะ ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ การดูดน้ำ หรือการ ป้อนน้ำ เป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง ตามคำแนะนำ ขององค์การอนามัยโลก ที่ว่าทารกควรได้รับ นมแม่อย่างเดียว (exclu sive breastfeeding ) 4-6 เดือน หากพ่อแม่ไม่เข้าใจจุดนี้ จะวิตกกังวล ที่ทารกไม่ดูดน้ำ เวลาให้น้ำเปล่า และแก้โดย ผสมกลูโคส หรือน้ำผึ้ง เพื่อให้ทารกดูดน้ำ อันตรายของการ ผสมกลูโคส หรือน้ำผึ้ง คืออาจทำ ให้ทารกดูดนม น้อยลง เป็นเหตุให้น้ำหนักตัวขึ้น ช้ากว่าปรกติ และเกิด ท้องร่วง เพราะน้ำที่ เจือกลูโคล หรือน้ำผึ้ง อาจมี เชื้อโรคปนเปื้อน นอกจากนี้ การให้ทารกดูดน้ำเพิ่ม ไม่ได้ช่วย แก้ปัญหาทารกเหลือง แต่กลับทำให้ทารกเหลือง มากขึ้นจากการได้น้ำนมไม่พอ
เป็นคำถามที่พบบ่อย ที่จริงแล้วลูกไม่จำเป็นต้องดูดน้ำก็ได้ เพราะในนมมีน้ำมากพอ มีเกิน 80% ไม่ว่าจะเป็นนมแม่หรือนมขวด ถ้าดูดนมพอจะไม่มีการขาดน้ำแน่ค่ะ คุณพ่อคุณแม่บางคนเติมกลูโคสหรือผสมน้ำผึ้งให้ลูกดูด เรื่องนี้ขอห้ามเลยนะคะ เพราะอาจทำให้ลูกดูดนมน้อยลงเนื่องจากติดน้ำหวานและยังอาจทำให้เด็กท้องเสีย เนื่องจากมีเชื้อโรคปนเปื้อน ช่วยลูกได้ เราอาจหยอดน้ำเพื่อชะคราบน้ำที่อยู่ในปากลูกหลังการดูดนมเพียงเล็กน้อยก็พอ การถ่ายอุจจาระบ่อย
ทารกแรกเกิด ที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว อาจถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอย ขณะดูดนมแม่ บิดตัว หรือผายลม จะมีอุจจาระเล็ด ออกมาด้วย ทำให้เข้าใจผิดว่า ทารกท้องเดิน เพราะอาจ นับการถ่าย อุจจาระได้ถึง 10-20 ครั้งต่อวัน อุจจาระมีสีเหลืองเข้มคล้ายสีทองคำใหม่ ๆ และ มีกลิ่นเปรี้ยว สาเหตุเกิด จากนมแม่มีนมน้ำเหลือง (colostrum) เจือปน ซึ่งช่วยระบายท้อง นมน้ำเหลือง จะหมดไปเหลือแต่ น้ำนมแม่แท้เมื่อ เข้าสู่ปลายสัปดาห์ที่ 4 หลังคลอด รักษาโดย เปลี่ยนจากนมแม่ เป็นนมผง บางรายได้ รับตัวไว้ในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือด และงดนมแม่
บางคนเข้าใจว่าลูกท้องเสีย ที่จริงแล้วนมแม่มักทำให้ลูกถ่ายกะปริดกะปรอย มีอุจจาระเละๆ แต่เป็นสีเหลืองทอง อาจจะถ่ายวันละ 8-10 ครั้ง ก็ถือว่าเป็นปกติค่ะ ลูกสามารถถ่ายได้บ่อยเท่าที่กิน พอปากดูด ก้นก็ถ่ายได้เลย แต่หลังจาก 4 สัปดาห์ผ่านไปลูกจะถ่ายน้อยลง ลูกไม่ถ่ายทุกวัน เป็นปัญหาต่อเนื่องเลยล่ะค่ะ ทั้งๆ ที่เดือนก่อนยังถ่ายบ่อย อยู่ดีๆ เดือนนี้กลับถ่ายน้อยลง โดยเฉพาะทารกที่กินนมแม่ เพราะนมแม่ย่อยง่าย กากน้อย และลูกไม่มีอาการอึดอัดจะสบายดี เวลาถ่ายแล้วไม่แข็ง แต่เป็นหลอด เหนียวๆ คล้ายยาสีฟัน เราก็ไม่ต้องทำอะไร เดี๋ยวลูกก็จะปรับตัวได้ ต่อไปถ้ากินอาหารเสริมมีกากมากขึ้น การขับถ่ายก็บ่อยขึ้น ที่จะเรียกว่า “ท้องผูก” นั้น ในทางการแพทย์อุจจาระต้องเป็นก้อนแข็งเลยค่ะ แม้ว่าถ่ายทุกวัน แต่ถ้าถ่ายแข็งก็ถือว่าท้องผูกค่ะ

มีตอนต่อไปนะคะ