วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
บางพัฒนาการของเด็ก ที่ (หลายคน) ควรรู้... (ตอนที่ 2)
ขอบคุณที่ติดตามสาระดีๆค่ะ....
ขวบแรกของลูก พ่อแม่ต้องใส่ใจ
เด็กน้อยเมื่อได้รับการใส่ใจดูแลด้วยความรัก ความใจใส่จากแม่พ่อย่อมเติบโตเป็นคนดี สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์ จัดมหกรรมการเรียนรู้ของพ่อแม่มือใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพลูกน้อยขวบปีแรก "เฟิร์ท เยียร์ ออฟ ไลฟ์ แอท สมิติเวช แฟร์" (First Year of Life @ Samitivej Fair) โดยมีกิจกรรมต่างๆ ควบคู่กับการจัดเสวนาเรื่อง "เก่งด้วย ฉลาดได้ ตั้งแต่วัยขวบปีแรก" โดยมีแพทย์หญิงสุวิมล ชีวมงคล กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการนำศิลปะแขนงต่างๆ มาบำบัดร่วมให้ความรู้
แพทย์หญิงสุวิมลบอกว่า เด็กต้องการต้นแบบที่ดี พ่อแม่และคนรอบข้างสำคัญมาก เพราะเด็กอยู่ในวัยเรียนรู้จากการสังเกตสิ่งที่เห็นรอบตัว ภาษาที่พูดสื่อสารกับลูกควรเป็นภาษาที่ชัดเจนปกติ พูดความจริงเป็นเหตุเป็นผลกับเด็ก
"ในขวบปีแรกของเด็กฐานการกินเป็นหัวใจสำคัญ และเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันระหว่างพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดูเด็กกับเด็ก สมมุติว่าเด็กบางคนไม่ทานตับ อาจหาไข่แดงมาให้ทาน เป็นการพัฒนาความสามารถในการกิน เด็กเคี้ยวอาหารได้ แม้ว่าฟันยังไม่ขึ้นและการให้อาหารเด็กนั้นก่อน 1 ขวบไม่ควรให้อาหารที่มีการปรุงรสชาติ"
ด้านแพทย์หญิงชนิกา ตู้จินดา ประธานโรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์ บอกต่อว่า ขวบปีแรกของเด็กเป็นสิ่งแรกในทุกสิ่งทุกอย่างที่จะพัฒนาให้เด็กเป็นเด็กดี ร่างกายแข็งแรง เดี๋ยวนี้เด็กเก่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีทั้งไอคิวและอีคิว ซึ่งความใกล้ชิดของพ่อแม่สำคัญมาก และเด็กต้องมีภูมิต้านทานต่อโลกภายนอกด้วย
"มีการศึกษาชัดเจนว่าแม่ที่มีความเครียดตลอดการตั้งครรภ์เด็กออกมาจะเลี้ยงยาก บางทีเป็นโรคหอบหืดอารมณ์เด็กปั่นป่วนตามแม่ ดังนั้น ให้แม่ที่ตั้งครรภ์ทำอะไรที่สบายใจ นึกถึงแต่เรื่องดี เมื่อเด็กคลอดออกมาในขวบปีแรก ต้องกล่อมเกลาให้เขาเติบโตดี มีร่างกายดี จิตใจดีเป็นคนดี พ่อแม่คือ สิ่งที่ลูกรักที่สุดในชีวิต ขวบปีแรกเป็นการพัฒนาต้นทุนที่สำคัญของลูก หากครอบครัวแตกแยก คนที่ดูแลลูกจะใครก็ได้ที่มีสัญชาตญาณของความเป็นพ่อแม่ และรักเด็กที่สุด" เมื่อผ่านพ้นขวบปีแรก ขวบต่อๆ ไปก็ต้องให้ความสนใจเช่นกัน
วิธีการนำเต้านมมารดาเข้าปากทารก
1. ประคองศีรษะทารกเข้าใกล้เต้านม มารดาช้อนเต้านมรอไว้
2. มารดาประคองเต้านมให้หัวนมเตะริมฝีปากล่างของทารกเพื่อกระตุ้มให้ทารกคาบหัวนม
3. มารดาช้อนเต้านมให้หัวนมเข้าปากทารก
4. มารดาประคองศีรษะทารกเข้าหาเต้านม
การปฏิบัติตนระหว่างให้นมบุตร
- ควรสวมยกทรงไว้เสมอ (เพื่อลดความเจ็บปวด และการหย่อนยาน)
- ถ้าเจ็บปวดเต้านมใน 2 - 3 วันหลังคลอด (มารดาท้องแรก) เป็นการคั่งของเลือดและน้ำเหลือง ให้ ประคบด้วยความเย็น สลับความรัอนเพื่อลดความเจ็บปวด และกระตุ้นให้น้ำนมไหล ด้วยการให้ทารกดูด นมเร็วที่สุด (ทันทีหลัง หลอด) และดูดบ่อย ๆ
- ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณเต้านมระหว่างเวลาให้นมทารก (ควรฟอกเฉพาะเช้าและเย็นเท่านั้น และล้างสบู่ ออกให้หมด)
- เวลาให้นมทารก มารดาควรให้ทารกคาบหัวนมไปจนถึงบริเวณบริเวณลานหัวนม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการหลั่งน้ำนม
และเพื่อป้องกันหัวนมแตก นอกจากนั้นยังมีผลให้มดลูกเข้าอู่เร็ว และไม่ทำให้ทารกดูดลม เข้าทางมุมปากเพื่อป้องกันทารกท้องอืด
- ถ้ามีปัญหาหัวนมเจ็บ หรือแตก ควรใช้ครีมทาตามแพทย์สั่งและงดให้นมข้างนั้นจนกว่าจะหาย ระหว่าง งดให้นม
ควรบีบน้ำนมทิ้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของน้ำนม เมื่อหายแล้วจะได้มีน้ำนมให้ทารก ตามปกติ
- ล้างมือและเช็ดหัวนมให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังให้นม เพื่อทำความสะอาดและเปิดช่องทางให้น้ำนมไหล
หลังให้นมทุกครั้งควรอุ้มลูกพาดบ่าเพื่อให้เรอ
- มารดาที่ให้นมทารกควรระมัดระวังเรื่องการรับประทานยา เมื่อเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์เพราะยาหลาย ชนิด
จะมีผลผ่านทาน้ำนมมารดาถึงทารกได้เช่น ยาดองเหล้า ยาจีน ยานอนหลับ ยาปฏิชีวนะ (ยาแก้ อักเสบ) ต่าง ๆ ฯลฯ
- นอกจากยาแล้ว อาหารผักผลไม้บางอย่าง เช่น หัวหอม กะหล่ำปลี ฝรั่ง อาจทำให้ท้องอืด กลิ่นและ รส
ของน้ำนมเปลี่ยนไป ทำให้ทารกปฏิเสธน้ำนมมารดาอาหารหมักดองหรือมีสรจัดทำให้มารดาท้องเสีย
การบริบาลทารก การรักษาความสะอาด
- ผิวหนังบริเวณศีรษะและร่างกายโดยเฉพาะตามข้อพับของเด็กแรกคลอด จะพบว่ามีไขมันเกาะอยู่ ควร ใช้
สำลีสะอาดชุบน้ำมันมะกอกเช็ดเบา ๆไขมันจะค่อย ๆ ออกไปวันละน้อย จึงค่อยเช็ดตัวหรือสระผม อาบน้ำให้ทารก
(ให้อาบน้ำแบบแช่ได้ เมื่อสายสะดือหลุดแล้ว ซึ่งปกติสายสะดือจะหลุดประมาณ 7 วัน หลังคลอด)
วิธีจับทารก อาบน้ำมารดาควรใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจับให้แน่นบริเวณใต้รักแร้ ทารก อ้อมไปถึงต้นแขน
เพื่อไม่ให้ทารกหลุดจากมือมารดา
- การดูแลสายสะดือทารก ควรทำความสะอาดโดยใช้สำลีพันปลายไม้หรือ Qtip ชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดจากโคนสะดือ
(บริเวณที่สะดือติดกับผิวหนังหน้าท้อง) มารดาควรล้างมือให้สะอาด แล้วจับเชือดที่ ผูกสายสะดือ เอียงไปทีละข้าง เพื่อเช็ดโคนสะดือมายังปลายสะดือ (จะเช็ดสะดือหลังเช็ดตัวทาแป้งหรือ ครีมแล้ว) ห้ามใช้แป้งโรยบนสะดือ เพราะจะเกิดการติดเชื้อจากความไม่สะอาดของแป้ง ถ้าทาครีมแล้ว ไม่ควรทาแป้งทับ
- มารดาควรสระผมให้ทารกได้วันละ 1 ครั้ง ก่อนสระควรใช้สำลีสะอาดชุบน้ำมันมะกอกเช็ดไขที่บริเวณ
ศีรษะ และด้านหลังใบหู เพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เกิดจากการหมักหมมของไขมันเด็กโบราณเรียก “แผลชันนะตุ”
“ในรายที่เชือกผูกสายสะดือหลุดและมีเลือดไหลออกมาทางปลายสะดือ มารดาควรใช้เศษผ้าสะอาด
(ห้ามให้เชือก หรือด้ายพลาสติกที่มีความคม) ผูกสายสะดือเหนือบริเวณที่เคยผูก หรือบริเวณที่เคยผูก เพื่อให้เลือดหยุดและพามาโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน"
การให้ภูมิคุ้มกันโรค
มารดาควรพาทารกมาตรวจร่างกายและเริ่มให้ภูมิคุ้มกันโรค (โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ) เมื่อ ครบ 2 เดือน
เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจความเจริญเติบโตหรือความผิดปกติของทารก และวางแผนให้ภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งจะต้องให้หลายครั้ง
ตามกำหนดที่แพทย์วางแผนไว้ จึงจะได้ผลและมีความจำเป็นมากแก่ทารก (อาจพาทารกมาที่ โรงพยาบาล หรือ
ศูนย์อนามัยใกล้บ้านท่าน) เมื่อถึงกำหนดนัดถ้าทารกช่วยมีไข้ น้ำมูกไหล ต้องพาไปพบแพทย์เพื่อ รับการรักษาให้หาย จึงนำมาให้ภูมิคุ้มกันได้
อาการผิดปกติที่ต้องรับนำทารกส่งโรงพยาบาล
1. ทารกมีไข้สูงเกิน 38.4 อาศาเซลเซียส ระหว่างเดินทางมาพบแพทย์มารดาควรเช็ดตัวให้ด้วยน้ำธรรมดา
โดยเฉพาะบริเวณศรีษะควรวางกระเป๋าน้ำแข็งซึ่งอาจใช้ถุงพลาสติกเล็ก ๆ ใส่น้ำแข็งแล้วห่อผ้างวางที่ศรีษะเด็ก เพื่อป้องกันการชัก ถ้าทารกมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36.1 อาศาเซลเซียส ควรให้ความอบอุ่นแล้วรับนำส่งแพทย์
2. ทารกมีอาเจียนพุ่งมากกว่า 1 ครั้ง มารดาต้องแยกให้ออกระหว่างอาเจียนกันสำรอก
การสำรอก จะเกิดเมื่อทารกได้รับน้ำนมหรือน้ำมากเกินความต้องการหรือเมื่อเปลี่ยนท่าของทารกเร็ว ๆ
หลังให้นมสิ่งที่ขับออกมา จะมีจำนวนน้อย
อาเจียน จะเกิดได้ตั้งแต่ทารกเริ่มได้น้ำนมหรือน้ำ และมีจำนวนมากว่าสำรอก ซึ่งมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ร้องกวนหรือผิดปกติ
ถ้าทารกอาเจียน ให้จับทารกนอนราบแล้วหันศรีษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักอาเจียน
3. ทารกปฏิเสธการให้นมติด ๆ กันเกินกว่า 2 ครั้ง
4. ทารกง่วงซึมไม่เคลื่อนไหวแม้กระตุ้น
5. ทารกหน้าเขียวขณะให้นม ควรงดให้นม
6. ทารกไม่หายใจเกิด 15 วินาที
มีตอนที่ 3 อยู่นะคะ เร็วๆนี้ ขอไปทำธุระส่วนตัวก่อนค้า...
บางพัฒนาการของเด็ก ที่ (หลายคน) ควรรู้... (ตอนที่ 1)
บทความนี้คัดตัดตอนมาจากเอกสารชิ้นหนึ่ง (ไม่รู้ที่มา) หากเป็นของนักวิชาการท่านใดก็ขออนุญาตเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ สำหรับคนที่เป็นแม่ (เป็นยายด้วย...แหะๆ) หวังว่าคงได้รับอานิสงค์นี้โดยทั่วถึงนะคะ
พัฒนาการปกติ เดือนที่ 1
ในช่วงแรกนี้ เป็นการทำความรู้จักกัน หลังจากที่ได้แต่ส่งใจถึงกันมานาน ตลอด 9 เดือน คุณแม่ต้องปรับตัวพยายามอ่านใจลูก ว่าเขาเป็นอย่างไร ต้องการอะไร และลูกเองก็กำลังเรียนรู้ ที่จะตอบสนองกับคุณเช่นกัน
เมื่อกลับออกจาก ร.พ. มาอยู่ที่บ้าน คุณแม่บางคนอาจจะได้รับคำแนะนำ และความช่วยเหลือต่างๆมากมาย จากคนรอบข้าง ในการรับคำแนะนำต่างๆเหล่านี้ คุณแม่ต้องเข้าใจว่า เด็กแต่ละคนนั้น จะมีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องการกิน การนอน และแม้แต่การร้องกวน ดังนั้นข้อแนะนำต่างๆ ที่ใช้ได้ดีกับเด็กคนหนึ่ง อาจจะดูเหมือนไม่ได้ผล เมื่อนำมาใช้กับเด็กอีกคนหนึ่ง คุณจึงควรต้องใช้ความช่างสังเกต และสัญชาติญาณของความเป็นแม่ ปรับเปลี่ยนการดูแลลูก ไปตามที่เห็นสมควร ร่วมกับการสอบถาม หาความรู้จากกุมารแพทย์ที่ดูแลลูกด้วย
การร้องไห้ เป็นวิธีเดียวที่ลูกน้อยของคุณถนัด และเป็นการพยายามสื่อสารกับคุณแม่ เพื่อที่จะบอกว่าเขากำลังต้องการอะไรบางอย่างจากคุณ อาจเป็นการป้อนนม การเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือการอุ้ม เพื่อให้เขารู้สึกอบอุ่นและสบายใจว่าจะได้รับการดูแลปกป้อง
คุณแม่ต้องพยายามสังเกตว่าเสียงร้องแต่ละแบบที่ต่างกันนั้น หมายถึงอะไร ในเวลาไม่นาน คุณแม่ก็จะเดาใจลูกได้ถูกว่าเสียงร้อง และท่าทางที่เขากำลังแสดงอยู่นี้ หมายความว่าอย่างไร และถ้าตอบสนองได้ถูกต้องลูกก็จะหยุดร้อง แต่ก็อาจจะมีบางครั้ง ที่ลูกอาจจะร้องกวนโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้คุณเริ่มมีความวิตกว่า จะเกิดอะไรผิดปกติกับลูก การตอบสนองโดยการอุ้มกล่อมเด็ก เพื่อให้เขาเกิดความสบายใจ และหยุดร้องอย่างเหมาะสมนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีกว่าการที่จะปล่อยให้ลูกร้องไปจนกว่าจะเหนื่อย จนหยุดร้องไปเอง โดยไม่ยอมตอบสนองต่อความต้องการของเขา (บางคนเข้าใจผิดว่า การปล่อยให้ร้องนานๆ เป็นการบริหารปอด หรือการอุ้มเวลาร้อง จะทำให้เด็กเคยตัว หรือติดมือ)
คุณอาจจะต้องลองพยายามหาท่าอุ้ม ท่าป้อนนม หรือการกล่อมเด็ก ที่คิดว่าจะทำให้เด็กสงบลงได้ และถ้าคุณรู้สึกว่ากำลังเครียด และไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรดี ควรที่จะหาคนช่วย (เช่นคุณพ่อ, คุณยาย หรือพี่เลี้ยง) มาดูแลลูกสักพัก อย่างน้อยก็ให้คุณได้มีเวลาตั้งสติ และเริ่มมองหาวิธีอื่นที่จะช่วยลูกได้
สะดือของเด็กจะเริ่มแห้ง และหลุดไปเองในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ไม่ควรโรยแป้งลงในหลุมสะดือ แต่ควรใช้ 70% แอลกอฮอ หรือ เบตาดีน ทำความสะอาดสะดือที่กำลังจะหลุด โดยการหยอดลงไปที่หลุมสะดือหรือเช็ดลงไปให้ถึงฐานสะดือโดยรอบ วันละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหลุด การทำดังนี้จะไม่เกิดการเจ็บแสบและจะป้องกันการติดเชื้อได้ดี
การทานนมและการขับถ่ายในช่วงแรกๆนั้น ส่วนใหญ่เด็กจะตื่นมาทานนม และถ่ายค่อนข้างบ่อย ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของเด็กเมื่อหิว เด็กยังไม่รู้จักเวลา ว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืน และมักจะถ่าย หลังการทานนมแทบทุกมื้อ เนื่องจากเป็นรีเฟลกซ์ (การทำงานของระบบประสาท ที่ไม่ต้องคอยคำสั่งจากสมอง) ที่ลำไส้จะเตรียมที่ไว้ สำหรับรับนมที่เพิ่งทานเข้าไปในกระเพาะ
เด็กหลายคน จะมีการสะอึกค่อนข้างมาก หลังการทานนม ซึ่งคุณแม่คงต้องใจเย็นๆอุ้มทำให้เรอ แล้วอาการสะอึกจะดีขึ้น นอกจากนี้หลายรายจะมีการแหวะนมเล็กน้อย เมื่อวางเด็กลงนอน ซึ่งถือว่าเป็นปกติ แต่ในรายที่มีการป้อนนมมากเกินไป (Overfeeding) ก็จะมีอาเจียนได้มาก หรือบางครั้งจะมีปัญหา รีฟลักซ์ คือการที่กระเพาะบีบตัว ขย้อนเอานมกลับออกมาทางปาก ที่เรียกว่า Gastro-esophageal reflux (GER) ซึ่งพบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด ถ้าลูกมีอาเจียนค่อนข้างบ่อยควรปรึกษาแพทย์
ในทารกแรกเกิดนั้นมีรีเฟลกซ์หลายอย่าง ที่เห็นกันได้ง่าย คือ โมโร่รีเฟลกซ์ (MORO Reflex) เมื่อเด็กร้องหรือตกใจ จะดูเหมือนทำท่าผวา มือเท้าสั่น, รีเฟลกซ์การเข้าหาหัวนม และดูดนม ( Rooting and sucking reflexes), เด็กบางคนจะยังมีรีเฟลกซ์การจาม (sneezing reflex) อยู่บ้าง และเช่นกัน บางครั้งจะเห็นลูกนอนอยู่เฉยๆ แต่ก็ยิ้มอย่างน่ารักได้ ที่ผู้ใหญ่เรียกว่า “ยิ้มกับแม่ซื้อ” ซึ่งก็เป็นรีเฟลกซ์อีกอย่างหนึ่งนั่นเอง
ในระยะนี้ ลูกจะเริ่มลืมตามองมากขึ้น ถ้าแสงในห้องไม่สว่างจ้าจนเกินไปนัก ประมาณว่าเด็กจะมองเห็นได้ดี ในช่วงระยะประมาณ 1 ฟุต ซึ่งก็คือ ระยะที่ลูกจะเห็นหน้าคุณแม่ ในขณะป้อนนมนั่นเอง แต่การแปลผลภาพที่เห็นนั้น จะยังต้องใช้การทำงานของสมองส่วนต่างๆ อีกหลายระดับ แต่ลูกจะมีสัญชาตญาณรู้ว่า คุณคือคุณแม่ จากประสาทสัมผัสพิเศษอื่นๆอีก คือ การได้กลิ่นกายของคุณแม่ เสียงคุณแม่ที่เขาคุ้น ตั้งแต่อยู่ในท้อง การสัมผัสทางผิวกายขณะที่คุณแม่ป้อนนมเขา (ซึ่งการให้นมแม่โดยการดูดจากเต้านมนั้น จะได้มีการสัมผัสทางกายและทางใจมากกว่าการป้อนโดยใช้นมขวด) สิ่งเหล่านี้ทำให้ลูกรู้ว่า คุณคือคุณแม่ ไม่ใช่พี่เลี้ยง หรือคุณยาย ที่กำลังอุ้มเขาอยู่
( โปรดติดตาม ตอนที่ 2 )
34 วันของโตโต้
มาคุยกัน ตามประสาคุณยายที่เห่อหลาน อีกสักครั้งเถอะ
นับจากวันที่โตโต้ออกมาดูโลก ถึงวันนี้ ได้ 34 วัน คุณยายเฝ้าดูพัฒนาการของเขาอย่างใกล้ชิด
โตโต้ยิ้มได้เมื่ออายุไม่ถึง 10 วัน แต่ไม่มีเป้าหมายว่ายิ้มทำไม ก็เป็นเรื่องปกติ ที่ไม่ปกติกว่านั้นก็คือ
เมื่อโตโต้อายุได้ 23 วัน คุณยายถ่ายรูปเขา บอกให้ยิ้ม ก็ยิ้ม และจนถึงวันนี้ โตโต้อายุได้ 34 วันแล้ว
เห็นกล้องเมื่อไหร่เป็นยิ้มทุกที
รู้จักมองตามเสียงคุณยาย เสียงแม่ พ่อ เวลาทำเสียงดุใส่จะหน้าเบะ หยุดดูดนม แก่แดดจริง
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา โตโต้อายุ 25 วัน คุณยายหนีไปไหว้พระที่เชียงแสน ไปซื้อของที่แม่สาย
ทิ้งโตโต้อยู่กับพ่อ-แม่ตั้งแต่ตีห้าครึ่ง ถึงสองทุ่มเลยทีเดียว ตอนอยู่ระหว่างการการเดินทาง โทรมาหาแม่เขาตลอด
แม่เขาบอกว่าไม่สดชื่นเลย ตัวอุ่นๆ เหมือนไข้รุม คุณยายซื้อโมบายรูปหมูอ้วนสีแดงมาให้หนูด้วย
พอคุณยายมาถึงโตโต้ก็มองหน้า เมื่อหยอกเย้าเขา เค้าก็ยิ้มตอบ สงสัยติดมือยายเสียแล้วสิเนี่ย...
ขณะที่เขียนถึงโตโต้ คุณยายหนีหนูมาเมืองชลได้ 4 วันแล้ว มาเมื่อวันที่โตโต้อายุครบ 1 เดือน คุณยายตัดผมไฟให้
เอาไปลอยน้ำที่ไหลผ่านข้างบ้าน (ไม่โกน ตัดออกมานิดหนึ่งพอเป็นพิธี) แล้วยายก็ออกบ้านมา
มารับน้าม่อนที่บ้าน หลังจากนั้นก็เอารถไปเข้าอู่เพื่อทำสีใหม่หมดทั้งคัน เตรียมเอาไว้ขับพาโตโต้กลับมาเมืองชลฯด้วยไงล่ะ
พี่โบตามมารับยายกับน้าม่อนที่อู่รถใกล้ๆสนามบิน อ้อ...ก่อนไปสนามบินไปแวะทานข้าวที่ "อิ่มปลาเผา" สาขาคันคลองฯ ไม่เหมือนสาขาสันทรายเลยในเรื่องของการบริการ แย่มาก อาหารก็งั้นๆ เอ๊ะ..ไปๆมาๆ ออกนอกลู่เสียแล้ว
มาพูดถึงโตโต้ใหม่....
ทุกวันนี้คุณยายเห็นโตโต้จากกล้องเว็บแคมที่ยายกับแม่คุยเอ็มกัน ก็ได้เห็นโตโต้ด้วย อีก 3-4 วันคุณยายก็กลับไปอุ้มหนูแล้วครับ...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)