วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บางพัฒนาของการเด็ก ที่(หลายคน)ควรรู้ ( ตอนที่4 )




การไม่ถ่ายทุกวัน
ภายหลังคลอด 4 สัปดาห์ น้ำนมแม่ จะเป็นน้ำนมแท้ ที่ไม่มีนมน้ำเลืองเจือปน (transitional milk) หากทารก ยังคง ได้นมแม่ต่อไป ทารกอาจไม่ถ่ายอุจจาระทุกวัน อาจถ่ายวันเว้นวัน ผู้เขียนเคยพบ ทารกหนึ่งราย ถ่ายทุก 12 วัน โดยไม่มีอาการท้องอืด และอึดอัด ไม่อาเจียน อุจจาระออกมาเป็นก้อน เหนียวคล้ายยาสีฟันที่ถูกบีบ ออกจากหลอด ทารกที่ได้รับนมแม่ ไม่ถ่ายทุกวัน เกิดจากน้ำนมแม่ย่อยง่าย ส่วนประกอบของ น้ำนมแม่จึงถูกดูดซึม โดยลำไส้ เพื่อใช้ในการเติบโต ทำให้เหลือกาก ที่กลายเป็น อุจจาระน้อย ท้องผูก ทางการแพทย์ตัดสิน จากความแข็งของอุจจาระ ไม่ได้ดูที่ความถี่ของการถ่าย ท้องผูก หมายถึง การถ่ายอุจจาระ เป็นก้อนแข็งทั้งกอง ท้องผูกพบบ่อย ในทารกที่เลี้ยงนมผสม ชงนมไม่ถูกสัดส่วน อาจจางไป หรือข้นไป หรือใช้นมที่ไม่เหมาะกับวัยโดยให้ นมผงสำหรับเด็กโต
ร้องเวลาถ่ายปัสสาวะ
เมื่ออายุใกล้หนึ่งเดือน ทารกบางรายเริ่มรับรู้ ความรู้สึกปวดปัสสาวะ ทำให้ทารกร้อง เหมือนมีการ เจ็บปวด ก่อนถ่ายปัสสาวะ ภาวะนี้เป็นเฉพาะเวลา ที่ทารกถ่ายปัสสาวะขณะตื่น หากถ่ายปัสสาวะขณะนอน หลับทารกจะไม่ร้อง ทารกจะไม่มีอาการถ่ายปัสสาวะเป็นหยด ๆ หรือเบ่ง อาการนี้จะหายเอง ภายใน 1 เดือน
ตัวเหลือง
ทารกที่ได้รับนมแม่ มีโอกาสเกิดตัวเหลืองได้ 2 ลักษณะ
1. breastfeeding Jaundice พบใน 2-4 วันหลังคลอด เกิดจาก การได้ รับนมแม่ไม่พอ เพราะจำกัดจำนวนครั้ง ของการดูด ร่วมกับการให้ดูดน้ำเปล่า หรือน้ำกลูโคล การป้องกันภาวะนี้คือ ให้ทารกอยู่กับมารดาตลอดเวลา (rooming-in หรือ bed-in ) ให้ดูดนมแม่บ่อย (มากกว่า 8 มื้อ/วัน) งดน้ำเปล่าหรือน้ำกลูโคล
2. breastmilk jaundice ซึ่งเริ่มปรากฏ ปลายสัปดาห์แรก (4-7 วัน ) บิลิรูบิน สูงสุดได้ถึง 10-30 มก./ดล. ใน สัปดาห์ที่2-3 หลังคลอด เมื่อให้นมแม่ ต่อไปจะค่อย ๆ ลดลง จนอยู่ในเกณฑ์ปรกติ เมื่ออายุ 3-12 สัปดาห์ กลไกลการเกิด breastmilk jaundice ยังไม่ทราบ แน่นอน การแยกภาวะนี้จากภาวะเหลือง ที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่สำคัญคือ โรคฮัยโปไธรอยด์แต่กำเนิด ทารกมีอาการ นอนเก่ง ร้องน้อย ต้องปลุก เพื่อให้นม ดูดนมได้ ไม่ดี และช้ามีผลให้ น้ำหนักเพิ่มน้อย ลิ้นโต ซึ่งอาจทำให้ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง อาจมีการ คัดจมูก ท้องผูก ท้องโตกว่าปกติ มีไส้เลื่อน ที่สะดือ ผิวหนังเย็น และลาย คล้าย ร่างแห วัดอุณหภูมิกายได้ ต่ำกว่าปรกติ (มักต่ำกว่า 35 ซ ) อาจมีบวมที่ อวัยวะเพศ และแขนขา ภาวะฮัยโปไธรอยด์ ต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ทารก ปัญญาอ่อน หากเป็น breastmilk jaundice ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใด ๆ ผู้เขียนเคยพบมารดาที่
ที่ลูกมีภาวะเหลืองจาก breastmilk jaundice และได้รับคำแนะนำว่า เกิดจากน้ำนม แม่เป็นพิษ ทำให้แม่ตกใจ และงดนมแม่ทันที หรือบอกให้ป้อนน้ำทารกมาก ๆ หรือ นำทารกตากแดดตอนเช้า ๆ
ผิวหนังลอก (Desquamation หรือ Peeling of the skin )
ขบวนการสร้าง Keratin ของผิวหนัง แสดงถึงภาวะการเจริญเต็มที่ (muturity) ของผิวหนัง โดย ทารกในครรภ์ ต้องมีภาวะโภชนาการปกติ เมื่อขบวนการสร้างเจริญเต็มที่แล้ว และทารก ในครรภ์มี ภาวะโภชนาการปรกติจากรก ทำหน้าที่ได้อย่างปรกติ ผิวหนังจะมีการลอก ปรกติ ผิวหนังของทารก ครบกำหนดใน 1-2 วันแรกจะยังไม่ลอก ภายหลังอายุ 24-28 ชั่วโมง จึงเริ่มปรากฏ มักพบที่มือ และเท้า ผิวหนังที่ลอก จะหายไปในเวลา 2-3 วัน โดยไม่ต้องให้ การรักษาใดๆ ในทารกเกิดก่อนกำหนด ผิวหนังจะลอกช้ากว่า โดยจะปรากฏเมื่อ 2-3 สัปดาห์ หลังคลอด และอาจลอกมาก ในทารกอายุครรภ์น้อย มาก ๆ การมีผิวหนังลอก เมื่อคลอดออก มาทันที พบในทารกครรภ์เกินกำหนดที่มี dysmaturity เนื่องจาก สมรรถภาพ การทำงาน ของรก เสื่อมลง และทารกที่ขาดออกซิเจนชนิด acute ขณะอยู่ ในมดลูก
ปานแดงชนิดเรียบ (Macular hemangiomas)
ปานแดง ที่เปลือกตาบน หน้าผาก และท้ายทอย พบได้ประมาณร้อยละ 50 ของทารก แรกเกิด ปานชนิดนี้ จะมีขอบเขต ไม่ชัดเจน และจะแดงขึ้น เวลาทารกร้อง ปานแดงที่ เปลือกตา มักหายไป เมื่อทารก มีอายุหนึ่งปี ปานแดงที่หน้าผาก มักพบร่วมกับ ปานแดง ที่ท้ายทอยและมีชื่อว่าเฉพาะว่า stork mark ปานแดงที่หน้าผาก มีรูปร่างเป็น สามเหลี่ยม โดยมีฐานอยู่ที่ชายผม และมุมชี้ไปทางจมูก stork mark ปรากฏนานกว่าหนึ่งปี และอาจคง อยู่ให้เห็น ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่เป็นครั้งคราวเวลาโกรธ
ที่เปลือกตา หน้าผาก ท้ายทอย เราพบกันได้บ่อยๆ มักจะเห็นชัดเจนเมื่อลูกร้อง ปานพวกนี้จะหายเองเมื่ออายุประมาณ 1 ขวบ
Traumatic cyanosis
เป็นภาวะเขียวคล้ำที่ใบหน้า เกิดจากการมีเลือดคั่ง และ มีจุดห้อเลือด (petechiae) จำนวนมาก เกิดจากการถูกบีบรัด โดย การคลอดตามธรรมชาติ หรือจากสายสะดือพันคอ จุดห้อเลือดมัก หายอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน
ผิวหนังลายเหมือนร่างแห (Cutis marmorata)
ผิวหนังมีลวดลาย เหมือนร่างแห (reticulation หรือ netlikepattern) หรือ เหมือนลายหินอ่อน (marbling ) เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด ฝอย (capillaries) และ หลอดเลือดดำย่อย (venules) สาเหตุของ ภาวะนี้ เกิดจากความไม่สมบูรณ์ ในการทำงาน ของศูนย์ควบคุมหลอด เลือด (vasomotor center )
นอกจากพบในทารกแรกเกิด ที่ปรกติแล้ว ยังพบในทารก ที่อยู่ในที่ ๆ มีอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม เย็น หรือ ร้อนไป และทารกที่มีการกำซาบของผิวหนัง (skin perfusion ) ลดลงจากหัวใจ ทำงานผิดปรกติ หรือ ช็อคจากหัวใจ หรือการติดเชื้อ
ภาวะเขียวที่มือและเท้า (Acrocyanosis หรือ Peripheral cyanosis)
ภาวะเขียวที่มือ และที่เท้าพบได้บ่อยในทารก 24-48 ชั่วโมงแรก หลังคลอด เกิดจากการ ไหลเวียนเลือดที่มือ และเท้าช้าลง เนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าว จะสกัดออกซิเจนจาก oxygenated hemoglobin เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นผลให้มี Reduced hemoglobin เพิ่มขึ้น ภาวะนี้อาจพบในทารก ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เย็น ฉะนั้น หากเห็นภาวะนี้ ให้ระลึกเสมอว่า ทารก อาจอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เย็นไป และหรืออาจมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ
Subconjunctival hemorrhage
เลือดออกที่ตาขาว (sclera) หรือรอบๆ แก้วตา (cornea) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย และหายเอง ภายใน2-3 สัปดาห์
Milia หรือ Epidermal inclusion cyst
ภาวะนี้ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนจากพื้นผิว (papule) มีสีนวลหรือสีขาวขนาด 1 มม.พบที่แก้ม ดั้งจมูก หน้าผาก nasolabialfolds เพดานแข็ง เหงือก หัวนม และปลายอวัยวะเพศ ของทารก เพศชาย ภาวะนี้พบร้อยละ 40 ของทารกครบกำหนด มักแตก และหายไปเมื่ออายุ 2-3 สัปดาห์ หรือ อยู่ได้นานถึง 2 เดือน
ตุ่มขาวในปาก
ที่กลางเพดานปากของทารกแรกเกิด อาจมีเม็ดสีขาวขนาดเท่า หัวเข็มหมุด (เส้นผ่าศูนย์ กลาง 1มม.) เรียกว่า epithelial pearl หรือ Epstein pearl
ซึ่งเป็นของปรกติ ในทารกแรก เกิด อาจมีจำนวนมาก น้อยต่างกัน ตุ่มเล็ก ๆ นี้ไม่ทำให้ ทารกไม่ดูดนม และจะหลุดไปเอง อาจพบตุ่มขาว ลักษณะนี้ที่เหงือก ซึ่งเรียกชื่อต่างกันว่า Bohn nodule ที่หัวนม และปลาย อวัยวะเพศชาย ซึ่งเรียกว่า epidermal inclusion cyst คนสูงอายุเรียก สิ่งใดที่มีสีขาวในปาก ของทารก ว่า หละ และเชื่อว่าทำให้ทารกไม่ดูดนม และ ต้องรักษา หากเป็น epithelial pearl จะให้การ รักษา โดยการขยี้ หรือบ่งออก โดยใช้นิ้ว หรือ เข็มที่ไม่สะอาด ซึ่งอาจทำให้เกิดการ ติดเชื้อ หากเป็นเชื้อรา (oralmoniliasis ) มักเชื่อว่า ต้องใช้ผ้าอ้อม ที่เปียกปัสสาวะของ ทารกเช็ด
ลิ้นขาว(White tongue)
ลิ้นขาว พบได้ในทารกแรกเกิด โดยปรากฏสีขาวกระจายเท่า ๆ กัน บริเวณกลางลิ้น ซึ่งหาย เอง เมื่อทารกมีอายุมากขึ้น
จึงไม่จำเป็นต้องให้ การรักษาใด ๆ ผู้สูงอายุมักแนะนำให้ทา 1 % gentian violet การวินิจฉัยแยกโรคจากเชื้อรา (moniliasis ) พบมีแผ่นสีขาว (white patch) เป็นหย่อม ๆ ที่ลิ้น และพบร่วมกับที่เพดานปาก กระพุ้งแก้ม หรือที่ริมฝีปากด้วย
Sebaceous gland hyperplasia
เป็นจุดขนาดเล็กกว่า 0.5 มม. มีสีนวลหรือขาว พบที่จมูก ริมฝีปาก และบริเวณแก้ม การคลำบริเวณผิวหนังที่เป็น จะพบ ว่าเรียบ ภาวะนี้พบใน ทารกครบกำหนด เป็นส่วนใหญ่ เกิดจาก การงอก เกินของต่อมไขมัน (hyperplastic sebaceous gland) จะมีขนาดเล็กลง และหายไป ภายหลังคลอด 1-2 สัปดาห์
ริมฝีปากแห้งและลอกเป็นแผ่น
ขอบริมฝีปากของทารก อาจมีเม็ดพอง ขนาดเส้นผ่าศุนย์กลาง ประมาณ 5 - 8 มม. อาจพบตลอดขอบริมฝีปากบน หรือ ล่าง หรือ พบ เฉพาะที่กลางริมฝีปากบน เม็ดนี้จะแห้งและลอกหลุด เป็นแผ่นแล้วขึ้นมา ใหม่ เม็ดพองชนิดนี้มีชื่อว่า sucking blister
Miliaria
ภาวะนี้เกิดจากการคั่งของเหงื่อ เนื่องจากมี keratin อุดท่อ ของต่อมเหงื่อ และทารกอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่ร้อน และความชื้น สูง ภาวะนี้จะหายไป เมื่อจัดให้ทารกอยู่ในที่เย็น Miliaria ที่พบมี 3 ลักษณะคือ
ผดแดง (Miliaria rubra ) เป็นตุ่มนูนสีแดง ที่มีขนาดเล็ก อยู่เป็นกลุ่ม พบในทารก ที่อยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่ร้อน และมีความ ชื้นสูง มักพบผดแดงในทารกที่มีอายุมากกว่า 1 สัปดาห์

มีต่ออีกค่ะ